เมื่อวันที่ 30 มีนาคม ทางเพจ นิเวีย(NIVEA) ได้ประกาศ บาคาร่าออนไลน์ ผลิตแอลกอฮอล์สำหรับล้างมือ เพื่อนำไปบริจาคให้หกับ โรงพยาบาล สถานสงเคราะห์บ้านเด็กกำพร้า และเด็กด้อยโอกาสอีกหลายแห่ง นอกจากนี้ทางนิเวียยังแจกให้พนักงานในบริษัท และพนักงานขายหน้าร้านอีกด้วย
โดยทางเพจได้บอกว่า “ในสถานการณ์แบบนี้ เราจะสู้ไปด้วยกัน ล่าสุด บริษัท ไบเออร์สด๊อรฟ (ประเทศไทย)
ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ บำรุงผิว นีเวีย และ ยูเซอริน เร่งผลิตแอลกอฮอล์ 80% สำหรับล้างมือ ด้วยมาตรฐานทางการแพทย์ กว่า 20,000 ลิตร บริจาคให้กับโรงพยาบาลกว่า 1,000 แห่งในประเทศไทย รวมถึงสถานสงเคราะห์บ้านเด็กกำพร้า และเด็กด้อยโอกาสอีกหลายแห่ง ทั้งยังแจกให้พนักงานออฟฟิศ และพนักงานขายหน้าร้านของทางนีเวีย และยูเซอรินอีกกว่า 1,780 คนทั่วประเทศ
เพื่อความมั่นใจในความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคยิ่งขึ้นอีกด้วย นีเวียขอเป็นกำลังใจให้กับคุณหมอ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ ที่กำลังทำงานหนักเพื่อช่วยเหลือประชาชนทุกคนอยู่ในขณะนี้ และพวกเราชาวนีเวียจะอยู่บ้านเพื่อคุณหมอทุกคนค่ะ อยู่บ้านกับพวกเรานะคะ แล้วเราจะผ่านวิกฤตการณ์นี้ไปด้วยกัน สู้ๆ ค่า”
“พาณิชย์”เปิดตัวสมาร์ทโชวห่วย เดลิเวอรี่ ให้บริการส่งสินค้าอุปโภคบริโภคถึงหน้าบ้าน
ข่าวทำเนียบรัฐบาล รายงาน “พาณิชย์”เปิดตัว “สมาร์ทโชวห่วย เดลิเวอรี่” ให้ผู้บริโภคสามารถค้นหาร้านโชวห่วยใกล้บ้าน และสั่งซื้อสินค้า ก่อนส่งตรงถึงบ้าน เพื่อรับมือกับการระบาดของไวรัสโควิด-19 ดีเดย์เปิดให้บริการนำร่อง 136 ร้านค้าในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ตั้งแต่ 30 มี.ค.เป็นต้นไป มั่นใจช่วยเพิ่มทางเลือกประชาชนในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดแพลตฟอร์ม “สมาร์ทโชวห่วย เดลิเวอรี่” เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถค้นหาร้านค้าโชวห่วยใกล้บ้าน รวมถึงโชวห่วยที่มีบริการส่งเดลิเวอรี่ ว่า ขณะนี้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้เปิดตัวเว็บไซต์ https://สมาร์ทโชวห่วยเดลิเวอรี่.moc.go.th และLineChatbot ของ DGA (@dgachatbot) สมาร์ทโชวห่วยเดลิเวอร์รี่”
ด้วยการสนับสนุนให้ร้านสมาร์ทโชห่วยที่เบื้องต้นมีอยู่บนแพลตฟอร์ม 2,655 ร้านค้า และมีร้านค้าที่มีบริการส่งสินค้าทันทีแล้ว136 ร้านค้าในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล สามารถให้บริการส่งสินค้าถึงมือผู้บริโภค โดยได้เปิดให้บริการแล้วตั้งแต่วันที่ 30 มี.ค.2563 จากนั้นจะขยายร้านค้าตามความพร้อมของร้านโชห่วยในระดับประเทศต่อไป
ทั้งนี้ การเปิดตัวสมาร์ทโชวห่วย เดลิเวอรี่ดังกล่าว เนื่องจากสถานการณ์ที่ไทยต้องประสบกับภาวะการระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคบางส่วนหาซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคได้ยากขึ้น และผู้บริโภคยังมีพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป มีการใช้บริการขนส่งเดลิเวอรี่ของแพลตฟอร์มต่างๆ เพิ่มมากขึ้น กระทรวงพาณิชย์ได้เล็งเห็นถึงความต้องการดังกล่าว และต้องการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้สามารถจัดหาสินค้าอุปโภคบริโภคได้ใกล้เคียงกับภาวะปกติมากที่สุด จึงมองหาช่องทางการซื้อสินค้าให้กับประชาชน โดยช่องทางหนึ่งที่ผู้บริโภคสามารถหาซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคได้ คือ ร้านค้าโชวห่วย ซึ่งกระจายอยู่ทั่วไปตามแหล่งชุมชนต่างๆ โดยร้านค้าหลายแห่งมีบริการส่งสินค้าถึงบ้าน
ขณะเดียวกัน ร้านค้าโชวห่วยส่วนใหญ่ยังมีความแออัดน้อยกว่าร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ทำให้มีความเสี่ยงน้อยกว่า จึงสามารถเป็นช่องทางการกระจายสินค้าที่สามารถช่วยเหลือผู้บริโภคในภาวะวิกฤติเช่นนี้ได้ นับเป็นมิติใหม่ในการหาซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคของประชาชนทั่วไป ซึ่งสามารถหาซื้อได้ในพื้นที่ใกล้บ้าน แถมยังสะดวกสบายไม่ต้องเดินทาง เป็นการลดความเสี่ยงและสนองนโยบายรัฐบาลในการ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” อีกด้วย
เตรียมเสนอครม. นโยบายใช้เน็ตฟรี 1 เดือน ช่วยเหลือประชาชน
วันที่ 30 มี.ค. ที่ผ่านมา ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (บอร์ดดีอี) วาระเร่งด่วน โดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีมติเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือประชาชนในช่วงวิกฤตไวรัสโควิด-19 โดยการลดค่าใช้จ่ายด้านโทรคมนาคม สนับสนุนการทำงานผ่านอินเตอร์เน็ต
ประกอบด้วย 1. สนับสนุนให้ประชาชนสามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์เคลื่อนที่ เพิ่ม 10 กิกะไบต์ ต่อคนต่อเดือน ให้แก่ผู้ใช้งานในปัจจุบัน โดยผู้ใช้บริการ 1 คนจะได้รับการสนับสนุน 1 เลขหมาย ต่อ 1 ผู้ให้บริการ เป็นเวลา 1 เดือน คาดว่าจะให้ใช้ฟรีได้ช่วงเดือนเมษายน 2563
และ 2. สนับสนุนการจัดให้มีบริการอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์ประจำที่โดยปรับเพิ่มคาปาร์ซิตี้ เท่าที่ผู้ให้บริการจะสามารถดำเนินการได้ โดยกรณีบริการ ADSL/VDSL/Copper ให้ปรับเพิ่มความเร็วสูงสุดที่สามารถทำได้ และกรณีบริการการรับ-ส่ง ข้อมูล ไฟเบอร์ทูดิเอ็ก ให้ได้ระดับความเร็ว (ดาวน์โหลด) 100 เมกะบิตต่อวินาที โดยให้ใช้งบประมาณ 3,000 ล้านบาท จากกองทุน กทปส. เพื่อช่วยเหลือประชาชนเฉพาะเดือนแรก จำนวน 30 ล้านเลขหมาย และจะเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อทราบในวันที่ 31 มี.ค.2563 ต่อไป บาคาร่าออนไลน์